วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 3095

DDR-RAM

DDR-RAM





DDR ย่อมาจากคำว่า Double Data Rate ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ที่จะเข้ามาแทนที่ SDRAM ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจาก DDR ได้รับการพัฒนา และ ยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SDRAM จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกัน SDRAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ SDRAM โดยทั่วไปจะมีการโอน ถ่ายข้อมูลเพียงครั้งเดียวในหนึ่งลูกของสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่ DDR สามารถส่งข้อมูลได้ถึง 2 ครั้งในหนึ่งลูกของสัญญาณนาฬิกา

คือสามารถส่งข้อมูลทั้งขาขึ้นและขาลงได้ในครั้งเดียว ดังนั้นความเร็วที่แท้จริงของ Bus จึงเพิ่มเป็น 266 MHz ซึ่งมากกว่าหน่วยความจำ SDRAM PC133 ถึง 2 เท่า ส่งผลให้ขนาด BANDWIDTH ของหน่วยความจำนั้นสูงขึ้นจากเดิมถึง 50% ทำให้ระบบต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการใช้หน่วยความจำแบบเดิม นอกจาก DDR จะทำงานได้เป็น 2 เท่า แล้วยังเป็นการช่วยแก้ปัญหาคอขวดในการใช้งานให้ลดลงอย่างมาก ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า DDR SDRAM เหนือกว่า SDRAM PC100/133 หน่วยความจำแบบ DDR SDRAM ในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 แบบคือ PC1600 และ PC2100 ซึ่งตัวเลขที่ต่อท้ายไม่ได้หมายถึงความเร็วของระบบ BUS ดังเช่นตัวเลขที่ต่อท้าย SDRAM แต่กลับเป็นค่าที่ใช้ระบุขนาด BANDWIDTH ของหน่วยความจำ

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงทฤษฎี ส่วนการใช้งานจริง DDR RAM มีประสิทธิภาพเหนือกว่า SDRAM ไม่ถึง 2 เท่าตามทฤษฎี ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบัน Chipset ที่ผลิตขึ้นเพื่อสนับสนุน DDR RAM ยังไม่สามารถเรียกใช้ประสิทธิภาพของแรมชนิดนี้ได้อย่างเต็มที่รวมทั้ง Software ต่างๆ แต่ทว่าก็ยังมีการพัฒนาต่อไป และในไม่ช้าเราจะได้เห็น DDRII

http://www.horhook.com/section/sec7tech/hardware/045-h-ram-ddr.html

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ขนาดความจุและความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์

ขนาดความจุและความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์
ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์นี้ค่อนข้างตัดสินใจได้ง่าย ...
ซึ่งปัจจุบันความเร็วรอบในการหมุนจานดิสก์มมาตรฐานพีซี
และแล็บท็อปส่วนใหญ่มาอยู่ที่ 7200 รอบต่อนาที ...

การดูแลรักษาฮาร์ดิสก์

วิธิการดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์
วิธีการแก้ปัญหาและเพิ่มความเร็วให้กับฮาร์ดดิสก์ตัวเก่งของคุณ การเป็นเจ้าของและใช้งานฮาร์ดดิสก์โดยไม่เคยสแกนตรวจ สอบก็เหมือนกับการมีรถยนต์คันหรูที่เอาแต่ขับอย่างเด ียวไม่เคยเข้าศูนย์บริการ ซึ่งทิปต่อไปนี้สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องลงแรงมากนัก เพียงแค่เจียดเวลาสักนิดในการปฏิบัติตาม

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ดชำรุด

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุด

ไฟไม่เข้า No Power เปิดไม่ติด No Power ON
ไม่ขึ้นภาพ No display พัดลม ไม่หมุน CPU Fan fail
ไม่บูตจาก A:,C: Cant boot A:,C: ไบออส เสีย Bios fail
ไบออส ไม่จำค่า Bios error เมาส์ คีบอร์ด เสีย PS/2 port fail
พอร์ท พรินเตอร์ เสีย LPT fail มองไม่เห็น Ram Ram fail USB ใช้ไม่ได้ USB fail AGP ใช้ไม่ได้ AGP Fail อุปกรณ์ไหม้ Component Burn out ลายวงจรชำรุด ขาด PCB damage JACK DC หัก หลวม
โยก เปิดไม่ได้ ทริกไม่ติด พอร์ทต่างๆ โยก หัก หลุด เปิดติด แต่ไม่ขึ้นภาพ ไบออส เสีย ติด Password
ไบออสไม่จำค่า เมาส์ คีบอร์ด ทัชแพด เสีย พอร์ท พรินเตอร์ เสีย ไม่ Detect Ram Sound เสีย
จอลาย(ออนบอร์ด)

หลักการเลือกซื้อเมนบอร์ด

การเลือกซื้อเมนบอร์ด
การเลือกซื้อเมนบอร์ดให้ตรงตามความต้องการหลังจากที่เราได้ทำการวางแผนในการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่นๆ ได้หมดแล้วคราวนี้ก็มาถือการเลือกซื้อเมนบอร์ดที่จะนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมารวมกัน

1. รองรับกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีของอุปกรณ์
ไม่ว่าคุณกำลังจะซื้อเมนบอร์ดใหม่เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทั้งชุดหรือซื้อเพื่อการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ตัวเก่าของคุณ สิ่งแรกก็คือคุณต้องดูก่อนว่าเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ หรือกำลังจะใช้นั้นมีรุ่นใดบ้าง
อย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นส่วนของอินเทอร์เฟซ หรือ Socket ที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งเป็นสิ่งแรกทีต้องมองก่อนว่าซีพียูที่คุณใช้นั้นใช้อินเทอร์เฟซแบบใด ถ้าเป็น Intel Pentium หรือ Celeron รุ่นใหม่ๆ เดี่ยวนี้จะใช้อินเทอร์เฟซที่เรียกว่า LGA 775 ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ ที่รองรับซีพียูถึงระดับ Dual Core (ถ้าชิปเซตรองรับ) ส่วนถ้าเป็นรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ Socket 478 ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เริ่มหายไปจากท้องตลาดที่ละน้อยแล้ว ส่วนผู้ที่จะใช้ซีพียู AMD นั้นก็จะมี 2 ทางเลือกคือ Socket 939 สำหรับซีพียูระดับสูงและระดับกลางที่รองรับซีพียู Dual Core ได้ และ Socket 754 สำหรับซีพียูระดับล่าง ที่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ต่างจาก Socket 939 อยู่เหมือนกัน
อย่างที่สองคือเรื่องของหน่วยความจำ ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานหน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เป็น DDRII ล่ะก็คุณต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตรุ่นใหม่ๆ และจะมีเฉพาะกับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู Intel เท่านั้นด้วย โดยช่องใส่ DDRII จะมีขาที่ถี่กว่า และไม่สามารถใช้งานร่วมกับ DDR ธรรมดาได้ครับ ส่วนผู้ที่ใช้ซีพียู AMD ในตอนนี้จะถูกจำกัดให้ใช้งานอยู่เพียงแค่ DDR เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นซีพียู Socket 939 และชิปเซตรองรับจะสามารถทำงานแบบ Dual Channel ได้ด้วย ส่วน Socket 754 ไม่รองรับครับ ด้าน Dual Channel ของ Intel นั้นส่วนใหญ่ก็จะสามารถรองรอง Dual Channel ได้อยู่แล้ว โดยเฉพาะชิปเซตของ Intel เอง ส่วนความเร็วในการทำงาน หากใส่แรมที่ความเร็วสูงกว่าที่เมนบอร์ดรองรับก็สามารถใส่ได้ไม่มีปัญหาครับ แต่จะทำงานเท่าที่เมนบอร์ดรองรับเท่านั้น
อย่างที่สามคือเรื่องกราฟิกการ์ดสำหรับเมนบอร์ดที่ไม่ได้มีการติดตั้งชิปกราฟิกมาให้ ซึ่งจะแบ่งเป็น PCI-Express X16 ซึ่งเป็นสล็อตแบบใหม่ มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า และในปัจจุบันการ์ดแบบ PCI-Express X16 ก็มีออกมาขายกันเต็มไปหมดแล้ว ส่วนอินเทอร์เฟซเก่าอย่าง AGP 8X นั้นเป็นสล็อตที่ยังคงมีเมนบอร์ดบางรุ่นที่ไม่รองรับบัสแบบ PCI-Express ยังคงติดตั้งมาให้ ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานก็ถือว่ายังดีอยู่ แต่กราฟิกการ์ดที่ใช้สล็อต AGP ก็กำลังจะหมดไปจากท้องตลาดในอีกไม่ช้าแล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีเทคโนโลยี SLI กับ CrossFire อีก ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานสิ่งเหล่านี้ ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกเมนบอร์ดที่รองรับด้วยเช่นกัน

2. ชิปเซตเป็นที่แน่นอนว่าชิปเซตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญบนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของตัวเมนบอร์ดเลย ดังนั้นมันจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากคุณใช้ซีพียู Intel และมีงบประมาณที่มาก ก็ควรเล่นชิปเซตในระดับ High-End ทั้งของ Intel อย่าง Intel 955X หรือ Intel 975X ไปเลย หรือจะเป็นของ nVidia nForce4 SLI ก็น่าสนใจเพราะสามารถรองรับ SLI ได้ด้วย ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ซีพียู AMD ก็คงมีแต่ชิปเซต nForce4 เท่านั้นที่เป็นที่พึ่งพาได้ ถ้าคุณต้องการเมนบอร์ดระดับกลางคือมีงบประมาณที่ไม่จำกัดมากจนเกินไปนักก็ตัวเลือกที่เหมาะสมก็ยังคงอยู่ที่ชิปเซต Intel และ nVidia อยู่ดี โดยถ้าคุณใช้ซีพียู Intel ล่ะก็ ชิปเซตที่เหมาะสมน่าจะเป็นชิปเซตในตระกูล Intel 915 หรือ Intel 945 ครับ ส่วนผู้ใช้ซีพียู AMD ก็จะมีตัวเลือกเป็น nForce3 และ nForce4 ครับ โดยมีให้เลือกหลายรุ่นหลายระดับ นอกจากนี้ก็อาจจะลองชิปเซต ATI Xpress200 ซึ่งเป็นชิปเซตตัวใหม่ที่ประสิทธิภาพพอใช้ก็ถือว่าโอเคครับ สุดท้ายสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ และไม่ซีเรียสเรื่องความเสถียรมากนัก ทางเลือกของคุณก็คือชิปเซตจาก SIS และ VIA ซึ่งสองค่ายนี้ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพต่ำ หมายถึงมีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ ได้น้อยกว่าของ Intel และ nVidia รวมถึงเรื่องความเสถียรด้วย มันจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ เท่านั้น

3. อุปกรณ์ที่ติดมากับเมนบอร์ดเมนบอร์ดในปัจจุบันนั้นค่อนข้างต่างจากเมนบอร์ดสมัยก่อนมาก เพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์แทบทุกอย่าง ถูกนำมาใส่รวมไว้บนเมนบอร์ดเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซาวนด์การ์ด, แลนการ์ด, RAID หรือบางรุ่นก็มีกราฟิกชิปติดตั้งมาให้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องดูให้ดีๆ ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มาใส่เพิ่มเองให้เสียตัง
- Sound ว่าด้วยเรื่องของซาวนด์การ์ดที่ติดมากับบอร์ดหรือ Sound onboard นั่นเอง เมื่อก่อนจัดได้ว่าเป็นซาวนด์การ์ดแก้ขัด คือขอเพียงแค่มีเสียง ฟังเพลงได้นิดๆ หน่อยๆ ก็โอเคแล้ว เสียงไม่ต้องเลิศเลอมากนัก แต่ปัจจุบันซาวนด์ออนบอร์ดได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซี่งในตอนนี้เมนบอร์ดทุกตัวอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีระบบเสียง 5.1 Channel ติดมาให้อยู่แล้ว ทำให้คุณพร้อมสำหรับดูหนัง DVD ได้ทันที แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพมากกว่านั้นก็ยังมีแบบ 7.1 Channel รวมถึงระบบเสียงแบบ High Definition ที่ให้เสียงดียิ่งขึ้นอีกด้วย
- Network ระบบเครือข่ายเดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น เพราะว่าในบ้านของคุณอาจจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง นอกจากนี้การเชื่อมด้วย High-Speed Internet ในบ้างครั้งก็ใช้การ์ดแลนในการเชื่อมต่อ ดังนั้นเมนบอร์ดแทบจะทุกรุ่นจึงมีการติดตั้งการ์ดแลนมาด้วย แต่จะเป็น 10/100 ธรรมดา หรือจะเป็นระดับ Gigabit ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งการใช้งานจริงๆ แล้ว 10/100 ก็เพียงพอต่อความต้องการเพราะเครือข่ายระดับ Gigabit นั้นก็จำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ Gigabit ด้วยเช่นกัน
- SATA Controller and RAID การเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์นั้นแต่ก่อนเราจะใช้อินเทอร์เฟซแบบ Parallel ATA ซึ่งมีลักษณะเป็นสายแพ แต่เมนบอร์ดเดี๋ยวนี้มีการติดตั้ง Controller แบบ SATA ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่ามาให้ ซึ่งต้องใช้กับฮาร์ดดิสก์ SATA เท่านั้น พร้อมกันนี้ยังได้มีความสามารถในการทำ RAID ติดมาพร้อมกันอีกด้วย
- FireWire (IEEE 1394) เป็นคอนโทรลเลอร์สำหรับบัสส่งข้อมูลความเร็วสูง คล้ายๆ กับ USB แต่มีความเร็วที่สูงกว่า โดยปกติจะมีอุปกรณ์ไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ใช้อินเทอร์เฟซแบบนี้ในการเชื่อมต่อ ส่วนมาก็เป็นอุปกรณ์ AV เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีพวก External Harddisk บางรุ่นที่ใช้การเชื่อมต่อแบบนี้ด้วยเช่นกัน
การเลือกเมนบอร์ดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์นี้มาให้ ก็ควรจะต้องดูความจำเป็นในการใช้งานของเรา อย่างเช่นถ้าเราไม่ได้ใช้เพื่อดูหนังด้วยลำโพงที่รับระบบเสียง 5.1 ต่อให้เมนบอร์ดรองรับระบบเสียง 7.1 High Definition ไปก็ไร้ประโยชน์ หรืออย่าง Gigabit Ethernet ก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับการใช้งานทั่วไป ถึงอย่างไรก็ตาม ลูกเล่นเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้กลายมาเป็นมาตรฐานอยู่แล้ว คุณจึงต้องตัดสินใจเลือกเฉพาะในกรณีที่มันเป็น Option เพิ่มเติมที่ทำให้ราคาของมันสูงขึ้นเท่านั้นเองครับ

4. ยี่ห้อมาถึงส่วนที่หลายคนรอคอย เพราะเคยได้ยินคนเคยเถียงกันเรื่องเมนบอร์ดยี่ห้อไหนดีที่สุด จริงๆ แล้วเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ การออกแบบที่สวยงาม เทคโนโลยีหรือลูกเล่นเสริม รวมถึงเรื่องของของแถมด้วย ดังนั้นจึงไม่มียี่ห้อไหนที่เรียกว่าดีที่สุด หากคุณต้องการเมนบอร์ดที่เหมาะกับคุณสักตัว อย่างแรกก็คือคุณต้องดูรายละเอียดของมันเสียก่อนว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า ซึ่งถ้ามีเมนบอร์ดหลายตัวที่เข้ามารอบมาให้คุณตัดสิน คราวนี้ค่อยมาดูรายละเอียดกันในเรื่องของการออกแบบ เพราะบางคนชอบเมนบอร์ดสวยๆ บางคนชอบเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้เยอะ บางคนชอบเมนบอร์ดที่มีลูกเล่นแปลกๆ ให้ลอง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไปครับยี่ห้อเมนบอร์ดในท้องตลาดก็จะมีอยู่กัน 2 ระดับ คือยี่ห้อที่ผลิตเมนบอร์ดในระดับกลางถึงสูงอย่างที่เราคุ้นๆ หูกันไม่ว่าจะเป็น Asus, MSI, Gigabyte, DFI, Abit และอีกหลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งเมนบอร์ดเหล่านี้จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีอุปกรณ์แถมมาให้ครบเครื่อง และการทำคู่มือ หรือชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดก็จะดูพิถีพิถันกว่า ส่วนยี่ห้อเมนบอร์ดอีกแบบคือแบบ Low-Cost ซึ่งเป็นเมนบอร์ดราคาถูกอย่างยี่ห้อ ASRock, ECS และ Axper น้องใหม่ที่แตกออกมาจาก Gigabyte โดยเมนบอร์ดเหล่านี้ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ที่มีราคาถูกเพราะตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้ง ทั้งเรื่องของแถม การทำคู่มือ ชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบมาอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ยี่ห้อเหล่านี้ส่วนมากจะหลีกเลี่ยงที่จะพัฒนาเมนบอร์ดด้วยชิปเซตระดับสูงๆ ซึ่งทำให้มีราคาแพงนั่นเอง

5. การรับประกันเมนบอร์ดถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเมนบอร์ดเกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับเมนบอร์ดควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้เมนบอร์ดเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของเมนบอร์ดในส่วนต่างๆ และการโอเวอร์คล็อก จนทำให้เมนบอร์ดเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้นครับ

6. งบประมาณวกกลับมาพูดเรื่องงบประมาณปิดท้ายอีกเช่นเคย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเมนบอร์ดอยู่และอยากที่จะทราบราคาพอคราวๆ ของเมนบอร์ด เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้เมนบอร์ดระดับใด เมนบอร์ดระดับ Low Cost สำหรับผู้ที่ต้องการความประหยัดจะมีราคาตั้งแต่ 1 พันกว่าบาทเรื่อยไปแต่ไม่เกิน 3 พัน ซึ่งจะมีทั้งรุ่นที่ใช้ชิปเซตดีๆ อยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ใช้เมนบอร์ดระดับนี้ต้องทำใจครับว่าของแถมอาจจะไม่ครบเครื่อง และลูกเล่นจะมีไม่ค่อยมากครับเมนบอร์ดระดับกลางนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 3 พันบาทขึ้นไปจนถึงราวๆ 5 พันกว่าบาทครับ ซึ่งเป็นราคาที่คุณจะได้ชิปเซตที่ทำงานได้ดีอย่าง Intel และ nVidia ได้ นอกจากนี้ลูกเล่นและคุณสมบัติการทำงานของเมนบอร์ดก็ยังถูกใส่มาให้เพียบอีกด้วย โดยสวยใหญ่จะเป็นลูกเล่นมาตรฐานที่ติดมากับชิปเซตอยู่แล้ว และอาจจะมีการใส่ Controller เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนเมนบอร์ดระดับ Top หรือ High-End นี้จะมีราคาตั้งแต่ 6 พันบาทขึ้นไปจนทะลุขึ้นไปหลักหมื่นเลยก็มี ความพิเศษของเมนบอร์ดในระดับนี้คือใช้ชิปเซตคุณภาพสูง มีลูกเล่นพร้อมหน้าพร้อมตา อย่าง SLI หรือ Crossfire นอกจากนี้ของแถมหรือความสามารถพิเศษก็ยังใส่มากันแบบใช้ไม่หมดเช่น Dual Gigabit LAN, SATA 8 พอร์ตพร้อม RAID 5 เมนบอร์ดบางรุ่นยังมี Bluetooth หรือ Wi-Fi ติดมาให้อีกด้วย ซึ่งถ้าคุณไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ (ส่วนใหญ่ก็คงไม่ต้องใช้) ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเมนบอร์ดระดับนี้ไปใช้งานก็ได้ครับ

http://blogger.sanook.com/loei444/2008/11/26/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87mainboard/

เมนบอร์ดและความสำคัญของเมนบอร์ด

ความสำคัญของ mainboard

เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง คือรวมเอาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม กราฟิกการ์ด การ์ดอุปกรณ์เสริมต่างๆ ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์อื่นๆ อีกมากมายให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยบนเมนบอร์ดจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าชิปเซต ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถืวว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพราะตัวชิปเซตนี้เองที่ทำหน้าที่กำหนดสถาปัตยกรรมโดยรวมของระบบ ไม่ว่าจะเป็นซีพียูที่รองรับ หน่วยความจำที่สามารถทำงานร่วมได้ ลูกเล่นต่างๆ ระบบบัสต่างๆ ที่รองรับ ประเภทของกราฟิกการ์ดที่ใช้งานร่วมด้วย

http://blogger.sanook.com/loei444/2008/11/26/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87mainboard/

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ ( Main Memory ) จะมีราคาสูงและมีความสามารถจำกัด โดยเฉพาะหน่วยความจำ "Volatile" หรือ RAM จะเป็นหน่วยความจำชั่วคราว คือ ถ้าหากเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดทำงานขัดข้อง หรือมีเหตุเกิดไฟดับกระทันหัน ข้อมูลในระหว่างนั้น จะหายไปทันที จากสาเหตุดังกล่าวนี้จึงต้องคิดค้นหน่วยความจำสำรองขึ้นมา จะมีเอาไว้ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในการจำคำสั่งและข้อมูลของคอมพิวเตอร์





แผ่นดิสค์แม่เหล็ก (Magnetic Disk)
คือ เครื่องอุปกรณ์หน่วยความจำสำรองที่นิยมใช้กันอยู่โดยทั่วไปมากที่สุด จะมีลักษณะเป็นแผ่นจานโลหะแบบบางๆ





เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape)
เทปแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์ของหน่วยความจำสำรองของคอมพิวเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก มีรูปร่างลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ยืดหยุ่นได้





ฮาร์ดดิสก์

เป็นหน่วยความจำรองที่มี
ขนาดความจุมากที่สุด ไม่สะดวกพกพา





แฮนด์ดีไดร์ฟ พกพาสะดวก ใช้งานง่าย แต่มีขนาดความจุแตกต่างกัน






แผ่นดิสก์ ขนาดความจุน้อยที่สุด สะดวกในการพกพา



http://looknatty.exteen.com/20070725/auxiliary-or-secondary-storage
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/kanidta_v/computer/sec04p01.html